วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียง
คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติแก่ประชาชน โดยยึดหลัก “ทางสายกลาง” ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายสรุปได้ 5 ประการ ดังนี้
1. ความพอเพียง คือ รู้จักพอประมาณ พออยู่ พอมี พอกิน พอใช้ ประหยัด และไม่เบียดเบียนผู้อื่น

2. ความมีเหตุผล คือ ตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความพอเพียงต้องใช้เหตุผล และพิจารณาด้วยความรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ เตรียมใจให้พร้อมรับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
4. การมีความรู้ คือ นำความรู้มาใช้ในการวางแผนและดำเนินชีวิต
5. การมีคุณธรรม คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต สามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/phaithoon_s/poopeag/sec01p01.html
http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/kkb5.html
http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html

ชีวิตกับความพอเพียง

"เศรษฐกิจพอเพียง" สมดุลแห่งชีวิต
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต ในครอบครัว ในโรงเรียน ในประเทศชาติ ในประเทศ โดยตั้งสมมุติฐานว่าทุกสิ่งอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาจากนอกประเทศกับในประเทศ นอกโรงเรียนกับในโรงเรียน นอกครอบครัวกับในครอบครัว แล้วทรงชี้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม ผลกระทบทางวัตถุ อาจจะหมายถึง ทางเศรษฐกิจทางการเงินก็ได้ ส่วนผลกระทบทางสังคม ให้นึกถึงความเข้มแข็งของโรงเรียนท่านที่ไม่มีเด็กติดยาเสพติดเลย หมายถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ สังคมของโรงเรียนเข้มแข็งหรือพูดถึงครอบครัวครูที่ไม่มีหนี้เลย ก็หมายถึง ว่าสังคมครอบครัวเข้มแข็ง ส่วนผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน คือ เรื่องความสะอาด ความมีวินัย เช่น การรักษาต้นไม้ การปลูกต้นไม้ให้เด็กได้ร่มในโรงเรียน ห้องส้วมสะอาด ขณะที่ผลกระทบทางวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมจากนอกประเทศที่จะเข้ามาทำลายวัฒนธรรมไทย จึงต้องรักษาวัฒนธรรมของเราให้เข้มแข็ง
ที่มา
http://www.thaihealth.or.th/node/10300
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/phaithoon_s/poopeag/sec02p01.html
http://teeraphong.blogspot.com/2007/09/blog-post_10.html

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสมทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้ ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/phaithoon_s/poopeag/sec02p01.html
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q2/2006june14p5.htm
http://202.143.145.50/web27/index.php?Itemid=85&id=53&option=com_content&task=view

โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่าง ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อ.เบตง จ.ยะลา



โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่าง ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อ.เบตง จ.ยะลาความเป็นมาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การก่อความไม่สงบใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ราษฎรหลายหมู่บ้านได้ร้องขอพระราชทานความช่วยเหลือให้มีที่อยู่ มีงานทำอยู่ในพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างที่บ้านจาเราะปูโงะ หมู่ที่ 2 ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่และการจ้างงานของราษฎร โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นั้นกรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 17 ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสภาพภูมิประเทศ เห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะสามารถดำเนินการช่วยเหลือราษฎรได้ จึงได้จัดทำรายงานการพิจารณาโครงการเบื้องต้น รายละเอียดดังต่อไปนี้วัตถุประสงค์ของโครงการโครงการจัดหาน้ำช่วยเหลือหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้1. เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคของฟาร์มตัวอย่างฯ อ.เบตง2. เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมภายในฟาร์มตัวอย่างฯ อ.เบตง3. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนขาดแคลนน้ำ4. เพื่อให้ราษฎรมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นที่ตั้งโครงการโครงการจัดหาน้ำช่วยเหลือหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เบตง จ.ยะลา โดยหัวงานฝายบ้านกาแป๊ะกอตอ ตั้งอยู่ที่พิกัด 47 NGQ 251-405 ระวาง 5220 III -5220 IV ลำดับชุด (Series) L 7018 แผนที่ 1:50,000 บริเวณบ้านกาแปะกอตอ หมู่ที่ 2 ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จากอำเภอเมืองยะลา เดินทางโดยใช้ถนนหมายเลข 410 ระยะทาง 144 กิโลเมตร ถึงอำเภอเบตง เลี้ยวขวาเข้าบ้านสวนแปะหลิม ระยะทาง 5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าหัวงานระยะทาง 1 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด 150 กิโลเมตรสภาพภูมิประเทศและแหล่งน้ำสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปบริเวณหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ระดับความสูงเฉลี่ย 300-400 เมตร พื้นที่เดิมปลูกสวนยางพาราและติดกับชายแดนไทยมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งหมด 124 ไร่บริเวณฟาร์มจะมีลำห้วย ระหว่างหุบเขาจำนวน 3 แห่ง แต่สภาพน้ำมีน้อย เมื่อมีการพัฒนาแหล่งน้ำทั้ง 3 แห่ง เพื่อนำน้ำมาใช้ในการอุปโภค-บริโภค และกิจกรรมในฟาร์มจะต้องสูบน้ำมาใช้เพราะพื้นที่ของฟาร์มอยู่สูงกว่าแหล่งน้ำที่มีอยู่ และอาจไม่พอเพียงต่อความต้องการใช้น้ำการพิจารณาโครงการจากการตรวจสอบสภาพภูมิประเทศบริเวณหมู่บ้านและฟาร์มตัวอย่างร่วมกับคณะทำงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่ทั้ง 3 แห่ง เพื่อนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมของฟาร์มได้โดยพิจารณาก่อสร้างเป็นสระเก็บน้ำพร้อมอาคารประกอบ เครื่องสูบน้ำและถังเก็บน้ำ โดยมีรายละเอียดดังนี้ที่ตั้งโครงการ หมู่ที่ 2 บ้านจาเราะปูโงะ ตำบลเบตง จังหวัดยะลาพิกัด 47N QG 285 - 352 มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 5222 III ระยะทางจากอำเภอเมืองนราธิวาส 276 กิโลเมตรรายละเอียดโครงการข้อมูลทั่วไปที่ตั้งหัวงาน บ้านกาแปะกอตอ หมู่ที่ 2 ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จากอำเภอเมืองยะลา พิกัดตามแผนที่ 1 : 50,000 ที่พิกัด 47 NQH 231-405 ระวาง 5220 III-5220 IV ลำดับชุด (Series) L 7018
ที่มา
http://www.rid.go.th/royalproject/index.phpoption=com_content&view=article&id=223:2009-06-02-04-34-49&catid=76:2009-05-04-07-31-47&Itemid=9
http://www.yala.go.th/www/King_Project/index.phpoption=com_content&view=article&id=65
http://www.yala.go.th/www/King_Project/index.phpoption=com_content&view=article&id=75

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้
ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "
"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

http://www.doae.go.th/report/SE/html/01.htm
http://sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/